การแบ่งขอบเขตส่วนอากาศและอวกาศ (Aero and Space)
สิ่งที่ได้รับการพิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินการของ Aerospace คือ การแบ่งระหว่าง Aeronautics และ Astronautics หรือการแบ่งส่วนอากาศและอวกาศ อันเป็นการกำหนดความสูงที่เปลี่ยนสภาพบรรยากาศกับอวกาศที่มีอากาศมีผลกระทบน้อยมากจนไม่มีผลกระทบ โดยได้กำหนดเส้นขอบเขตรอบโลกที่มีความสูง 100 กิโลเมตรเหนือระดับน้ำทะเลของโลก (Mean Sea Level) (62 ไมล์ หรือ 330,000 ฟุต) เรียกเส้นขอบเขตนี้คือ เส้นคาร์แมน (Karman Line) กำหนดโดยองค์กร Fédération Aéronautique Internationale (FAI) ตั้งอยู่ในเมือง โลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ อันเป็นหน่วยงานที่จัดเก็บสถิติด้าน Aerospace ดังนั้นเมื่อการดำเนินการใดอยู่มีความสูงอยู่ต่ำกว่าเส้นคาร์แมน จัดเป็นการดำเนินการในด้าน Aeronautics เช่น อากาศยานที่เคลื่อนที่ภายใต้บรรยากาศโลก แต่เมื่อใดที่ดำเนินการสูงกว่าเส้นคาร์แมน ถือเป็นการดำเนินการในด้าน Astronautics เช่น ดาวเทียมโคจรรอบโลก
เส้นคาร์แมน ได้ตั้งชื่อตาม Theodore von Kármán (ค.ศ.1881-1963) นักคณิตศาสตร์ นักฟิสิกส์ และวิศวกรด้าน Aerospace ชาวอเมริกันฮังกาเรียน ซึ่งเป็นผู้คำนวณเกี่ยวกับความสูงประมาณ 100 กิโลเมตร อากาศยานอาจไม่สามารถทรงตัวได้ในบรรยากาศ เนื่องจากความหนาแน่นของอากาศต่ำกว่าที่จะสร้างกระแสอากาสไหลผ่านปีกเพื่อสร้างแรงยก
ดังนั้น สิ่งสำคัญซึ่งเกี่ยวข้องกับการแบ่ง Aerospace นั้น คือ อากาศ กล่าวคือ การดำเนินการที่เป็น Aeronautics นั้นต้องอาศัยอากาศเป็นปัจจัยที่สำคัญ เช่น อากาศยานเคลื่อนที่ในบรรยากาศ ต้องอาศัยอากาศสำหรับการสร้างแรงยก (Lift) อีกทั้งเครื่องยนต์ยังต้องอาศัยอากาศที่มีออกซิจน สำหรับการสร้างแรงขับ (Thrust) ซึ่งแตกต่างจากอวกาศยาน เช่น ดาวเทียมที่โคจรรอบโลกไม่ได้อาศัยอากาศในการเคลื่อนที่และสร้างแรงขับแต่อย่างใด ดังนั้น อากาศจึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพิจารณาการแบ่งระหว่าง Aeronautics และ Astronautics
หากแต่ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายระหว่างประเทศ หรือข้อบังคับใดๆ ให้ใช้เส้นคาร์แมนที่ความสูง 100 กิโลเมตร แบ่งระหว่าง Aeronautics และ Astronautics ทำให้บางองค์กรไม่ได้ใช้เส้นความสูงนี้เป็นเส้นแบ่ง เช่น กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา (US Air Force) หรือ องค์การการบินและอวกาศ (National Aeronautics and Space Administrative หรือ NASA) ของสหรัฐอเมริกา ใช้ที่ความสูง 80 กิโลเมตรเหนือระดับน้ำทะเล (50 ไมล์)
เรียบเรียง : นาวาอากาศเอก ดร. พนม อินทรัศมี
วันนำเสนอ : 15 เมษายน 2564