อวกาศยาน Voyager 1 หนึ่งในสองอวกาศยานของ NASA ที่ถูกส่งขึ้นสู่ห้วงอวกาศ เมื่อ 44 ปีก่อน และบัดนี้ได้กลายเป็นวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นที่อยู่ห่างไกลจากโลกมากที่สุดเท่าที่ถูกบันทึกเอาไว้ และปัจจุบันยังคงใช้งานได้

          ระหว่างที่อวกาศยานได้ข้ามผ่านขอบของระบบสุริยะจักรวาล และได้ตรวจพบเสียงคลื่นเสียงพลาสม่า อย่างต่อเนื่อง จากการตรวจสอบข้อมูลที่ได้ถูกส่งกลับมายังโลกจากระยะทางกว่า 14 พันล้านไมล์ ซึ่งมีเสียงเหมือนเสียงของการ “ฮัมเพลง” เบา ๆ และต่อเนื่อง สิ่งนี้ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจว่า คลื่นพลาสม่าซึ่งเสมือนทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างดวงดาวมีปฏิสัมพันธ์กับลมสุริยะได้อย่างไร

ยานอวกาศโวเอเจอร์ 1 ได้ถูกส่งขึ้นสู่ห้วงอวกาศ เมื่อกันยายน 1977 เดินทางด้วยความเร็ว 38,000 ไมล์ต่อชั่วโมง ผ่านดาวพฤหัสบดีในปี 1979 ดาวเสาร์ในปลายปี 1980 และข้ามผ่านขอบเขตของสุริยะจักรวาลในสิงหาคม 2012 หลังจากเข้าสู่ห้วงอวกาศภายนอก ระบบตรวจจับคลื่นพลาสม่า (Plasma Wave System) ของอวกาศยาน ได้ตรวจพบคลื่นดังกล่าวอันเกิดจากการประทุของลมสุริยะ ซึ่งเป็นคลื่นความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้ถูกส่งออกมา ทำให้นักวิจัยสามารถติดตามการกระจายตัวของคลื่นพลาสม่าในเชิงพื้นที่ได้

          สำหรับอวกาศยานวอยเอเจอร์ 1 เดินทางออกจากโลก พร้อมด้วยแผ่นบันทึกทำด้วยทองคำ บันทึก เสียง และภาพของเหตุการณ์ต่างๆ บนโลก โดยมีแนวคิดที่ว่า หากอวกาศยานนี้ ได้มีโอกาสพบกับสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาในระบบดาวอื่น เนื้อหาในแผ่นบันทึกนี้จะเป็นสื่ออธิบายถึงอารยธรรมของมนุษยชาติ อันประกอบ ด้วยภาพถ่ายของโลก สิ่งมีชีวิตบนโลก ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์หลากหลายสาขา และสุดท้ายคำพูดทักทายจากมนุษยชาติเป็นภาษาต่างๆ มากถึง 55 ภาษา รวมถึงภาษาไทยอีกด้วย

ที่มา : https://scitechdaily.com/in-the-emptiness-of-space-14-billion-miles-away-voyager-i-detects-hum-from-plasma-waves/

แปลและเรียบเรียง : ricebird572

Previous articleอวกาศยาน Yutu 2 ของจีนได้ตื่นขึ้นในด้านไกลของดวงจันทร์
Next articleเลื่อนการปล่อยจรวด Atlas V นำส่งดาวเทียมแจ้งเตือนจรวดนำวิถี

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here