ภาพวัตถุเศษวัตถุอวกาศ (Space Objects and Debris) รอบโลก

การประยุกต์ (Space Debris Monitoring and Application) ของสำนักงานบริหารอวกาศแห่งชาติจีน (The China National Space Administration หรือ CNSA) ได้ออกมาแจ้งเตือนเมื่อวันอังคารถึงอันตรายอย่างรุนแรงที่อาจเกิดจากการชนของดาวเทียมจีนคือ Tsinghua Science Satellite (NORAD ID : 46026X กับเศษชิ้นส่วน (ID : 49863) ซึ่งเป็นชิ้นส่วนในหลายพันส่วนที่สามารถติดตามได้ โดยชิ้นส่วนเหล่านี้เกิดจาการยิงทำลายดาวเทียม Cosmos-1408 ของการทดสอบ Direct-Ascent Anti-Missile (ASAT) Test ของสหพันธรัฐรัสเซีย โดยมีการประกาศการแจ้งเตือนผ่านสื่อของประเทศจีน

การแจ้งเตือนได้ให้ข้อมูลระยะทางที่ดาวเทียมเข้าใกล้กับวัตถุอวกาศนี้เพียง 14.5 เมตร ขณะเดียวกันอาจจะไม่ใช่ตัวเลขที่แท้จริงจากข้อมูลการติดตามดาวเทียมของ Jonathan McDowell ศูนย์ปฏิบัติงานด้าน Astrophysics ของ Harvard-Smithsonian Center  ซึ่งจากข้อมูลการเฝ้าสังเกต (Tracking) พบกว่ามีเศษชิ้นส่วน ID 49863 เคลื่อนที่ผ่านใกล้กับดาวเทียม Tsinghua Science เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2665 แต่ไม่ได้ยืนยันว่าใกล้เพียง 14.5 เมตร ซึ่งอาจเป็นข้อมูลที่ไม่ชัดเจน

อีกทั้งยังมีการให้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการข้อมูลครั้งนี้อาจจะไม่น่าเป็นไปได้ในการตรวจสอบระยะการเข้าใกล้ได้อย่างถูกต้อง ที่มีระยะน้อยกว่า 100 เมตร เนื่องจากข้อมูลที่น่าเชื่อถือควรจะอยู่ในตัวเลขหลักร้อย

ด้านการดำเนินการสังเกตการณ์ (Monitor) เศษวัตถุอวกาศของจีน สำนักงานอวกาศแห่งชาติของจีนได้ก่อตั้งศูนย์สังเกตการณ์เศษวัตถุอวกาศและการประยุกต์ (Space Debris Monitoring and Application) เมื่อปี พ.ศ.2558 (ค.ศ.2015) อยู่ที่ National Astronomical Observatory of the Chinese Academy of Sciences  

สำหรับดาวเทียม Tsinghua Science เป็นดาวเทียมขนาดเล็กลักษณะทรงกลม ได้รับการยิงนำส่งเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.2563 ด้วยจรวดนำส่ง Long March 2D สำหรับภารกิจการตรวจวัดความหนาแน่นบรรยากาศ (Atmospheric Density) และสนามโน้มถ่วง (Gravitational Field) โดยมีวงโคจรอยู่ที่ความสูง 478 – 499 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก มีมุมระนาบโคจร (Inclination Angle) 97.4 องศา

เศษวัตถุอวกาศที่เกิดขึ้นนั้นมาจาก ดาวเทียม Cosmos-1408 ของสหพันธรัฐรัสเซีย ได้รับการยิงนำส่งเมื่อปี พ.ศ.2525 และได้รับการยิงทำลายเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 จากการทดสอบ Direct-Ascent Anti-Missile (ASAT) ซึ่งเป็นการยิงจรวดนำวิถีทำลายดาวเทียมที่อยู่ในรัศมีการยิง โดยการดำเนินการครั้งนี้ได้รับการกล่าวถึงหลายครั้งเนื่องจากการทดสอบการยิงดาวเทียมได้สร้างเศษวัตถุอวกาศที่สามารถตรวจจับได้ จำนวน 1,500 ชิ้น อีกทั้งยังสร้างเศษวัตถุอวกาศขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก

อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของจีนได้ปฏิเสธการกล่าวถึงการทดสอบ ASAT ของรัสเซียระหว่างการให้สัมภาษณ์ในงานประชุมผู้สื่อข่าว แม้ว่าได้รับการกล่าวถึงโดยนานาประเทศ ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่ามีการกล่าวถึงเมื่อครั้งประเทศจีนได้เคยมีการทดสอบ ASAT ลักษณะนี้เช่นเดียวกันเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2550 ซึ่งในครั้งนั้นได้มีการยิงอาวุธนำวิถีไปทำลายดาวเทียมตรวจสภาพอากาศ FY-1C น้ำหนัก 750 กิโลกรัม ที่ความสูง 865 กิโลเมตร ซึ่งอยู่ในชุดกลุ่มดาวเทียม Fengyun โดยอาวุธนำวิถีนั้นคือ Kinetic Kill Vehicle เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 8 กิโลเมตรต่อวินาที ยิงนำส่งจากท่าอวกาศยาน Xichang Satellite Launch Center เข้าชนในทิศทางตรงกันข้ามการการโคจรดาวเทียม ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อสถานีอวกาศนานาชาติและดาวเทียมที่โคจร ซึ่งในคราวนี้การทดสอบการยิงทำลายของรัสเซียอาจจะมีผลต่อดาวเทียมและอวกาศยานของจีนเช่นเดียวกัน

นาย Huang Zhicheng ผู้เชี่ยวชาญด้านการบินและอวกาศของจีนได้กล่าวถึงทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องควรให้ความสนใจกับการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของวัตถุอวกาศโดยควรมีการวิจัยและทดลองเครื่องมือหรืออวกาศยานที่สามารถเก็บวัตถุอวกาศนี้ได้และควรมีการออกกฎหมายระหว่างประเทศหรือข้อบังคับเข้ามาควบคุมกำกับดูแลภายใต้องค์การสหประชาชาติ

สำนักงานเศษวัตถุอวกาศ (Space Debris Office) ขององค์การอวกาศสหภาพยุโรป (European Space Agencyหรือ ESA) ได้ประมาณจำนวนวัตถุอวกาศที่มีขนาดมากกว่า 10 เซนติเมตร มีจำนวน 36,000 ชิ้น และวัตถุอวกาศที่มีขนาดระหว่าง 1 – 10 เซนติเมตรมีจำนวน 1,000,000 ชิ้น โดยทั้งหมดกระจายอยู่ในวงโคจรรอบโลก

เหตุการณ์การเข้าใกล้ของวัตถุอวกาศเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2565 เป็นหนึ่งในหลายเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้น เช่น เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2564 ชิ้นส่วนของดาวเทียมของจีนคือ Yunhai-1 (02) ได้ชนกับเศษชิ้นส่วนของเศษวัตถุอวกาศที่เกิดจากการยิงนำส่งของจรวดยิงนำส่ง Zenit-2 ซึ่งตรวจพบโดยฝูงบินการควบคุมอวกาศที่ 18 กองทัพอวกาศสหรัฐอเมริกา (18th Space Control Squadron หรือ 18 SPCS สังกัด U.S. Space Force)  

เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ทำหนังสือถึงสหประชาติเพื่อขอให้ทุกชาติตระหนักถึงความรับผิดชอบในระดับนานาชาติเกี่ยวกับการดำเนินการด้านอวกาศ (Outer Space) และเป็นการส่งสัญญาณถึงประเทศสหรัฐอเมริกาหลังจากจากสถานีอวกาศของจีนมีการปรับตำแหน่ง (Maneuver) 2 ครั้งในปี พ.ศ.2564 เพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้กับดาวเทียมสตาร์ลิงค์ (Starlink) ของบริษัทสเปซเอ็กซ์ (SpaceX)

บริษัท COMSPOC ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นบริษัทให้การบริการด้านการเฝ้าระวังสถานการณ์อวกาศ หรือ Space Situation Awareness (SSA) ได้วิเคราะห์และกล่าวถึงเกี่ยวกับดาวเทียมสตาร์ลิงค์มีความเสี่ยงโดยภาพรวมเพียง 2.4 เปอร์เซ็นต์ ที่จะเข้าชนกับสถานีอวกาศ Tiangong

สิ่งที่กล่าวถึงทั้งหมดมีความเกี่ยวข้องกับดาวเทียมซึ่งใช้งานในปัจจุบันที่มีการปรับตำแหน่งในวงโคจรรอบโลกระดับต่ำ (Low Earth Orbit) นำมาซึ่งความไม่แน่นอนท่ามกลางการขาดการประสานงานติดต่อระหว่างหน่วยงานหรือบริษัทที่เกี่ยวข้อง

ในปัจจุบันประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน มีแผนการที่จะสร้างกลุ่มดาวเทียมขนาดใหญ่ (Megaconstellation) ด้านการสื่อสารในวงจรรอบโลกระดับต่ำ ซึ่งทำให้ต้องมีการรับฟังความคิดเห็นจากบรรดาประเทศต่างๆ ทั่วโลก ดำเนินการโดยหน่วยงาน International Telecommunication Union (ITU) คาดว่ามีจำนวนดาวเทียมที่ ITU ต้องดำเนินการถึง 13,000 ดวง

แปลและเรียบเรียง : พนม อินทรัศมี

วันเสาร์ ที่ 22 มกราคม 2564

ที่มาของข่าวและภาพ : https://spacenews.com/chinese-satellite-in-near-miss-with-russian-asat-test-debris

ข้อมูลเพิ่มเติม :

Previous articleท่าอวกาศยาน (Spaceport) ความท้าทายด้านอวกาศในอนาคต ตอนที่ 1 : รู้จักท่าอวกาศยาน
Next articleดาวเทียมนับพันจะป้องกันการชนกันได้อย่างไร

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here