บริษัท Blue Origin เข้าซื้อ Honeybee Robotics บริษัทพัฒนาระบบหุ่นยนต์

0
359
Honeybee Robotics ได้จัดทำส่วนประกอบในอวกาศยานของ NASA หลายภารกิจ เช่น ระบบการจัดเก็บตัวอย่างแขนหุ่นยนต์ของยานลงจอดดาวอังคาร Phoenix

วันที่ 25 ม.ค. บริษ้ท Honeybee Robotics บริษัทผู้พัฒนาระบบหุ่นยนต์สำหรับอวกาศและสำหรับประกาศว่าบริษัทแม่ชื่อว่าบริษัท Ensign-Bickford Industries ได้ขายบริษัทนี้ให้กับบริษัท Blue Origin และในการตกลงราคานั้นคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในกางเดือนกุมภาพันธ์

Honeybee Robotics มีชื่อเสียงอย่างมากในอุตสาหกรรมอวกาศด้านนการพัฒนาระบบหุ่นยนต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการขุดเจาะพื้นผิวและกลไกอื่นๆ ที่ใช้สำหรับภารกิจอวกาศ รวมถึงระบบขุดเจาะหาชิ้นตัวอย่างที่ได้ใช้ไปกับภารกิจการเดินทางไปดาวอังคารหลายครั้ง เช่นกันกับภารกิจอื่นๆ ในอนาคตที่อยู่ระหว่างภายใต้การพัฒนาภารกิจไปยังดวงจันทร์ และภารกิจ Dragonfly ของ NASA ในการสำรวจดวงจันทร์ Titan ของดาวเสาร์

“การเข้าร่วมกับบริษัท Blue Origin เป็นก้าวสำคัญสำหรับบริษัท ด้วยบริษัท Blue Origin กำลังขยายความสามารถของบริษัท เพื่อที่จะได้เจอความท้าทายที่ตื่นเต้นที่สุดในการขนส่งอวกาศยุคต่อไป ทั้งความสะดวกในการเดินทาง จุดหมายใหม่ๆ ความรู้ด้านดาวเคราะห์และการสำรวจดาวเคราะห์แบบใหม่” Kiel Davis ประธานบริษัท Honeybee Robotics ได้กล่าวในแถลงการณ์

เมื่อปี ค.ศ.1983 บริษัท Honeybee Robotics ก่อตั้งขึ้น และเริ่มทำงานให้กับโครงการของ NASA ในปี 1986 ปัจจุบันบริษัทมีสำนักงานตั้งอยู่ Colorado และ Southern California บริษัทนี้ทำงานเกี่ยวกับการขุดเจาะภาคพื้นดินและตลาดพลังงาน รวมทั้งอุตสาหกรรมด้านความมั่นคงและด้านอื่นๆ ด้วย บริษัท Ensign-Bickford ได้เข้าซื้อ Honeybee Robotics ในปี 2017 และในปี 2019 Honeybee Robotics ได้ควบกิจการรวมกับบริษัท Avior Controls บริษัทผู้ผลิตกลไกเชิงกลเกี่ยวกับอวกาศ

บริษัท Blue Origin กล่าวว่าจะสงวนเอกลักษณ์ของ Honeybee Robotics ไว้แยกออกจากบริษัทใหญ่ โดยไม่มีการเปลี่ยนรูปแบบบริษัทแต่อย่างใด โดยเฉพาะในเรื่องผลิตภัณฑ์หรือกลุ่มลูกค้า ทั้งนี้ Honeybee ยังไม่เปิดเผยแผนระยะยาวสำหรับบริษัทหรือเทคโนโลยีใหม่ แม้ว่า Jeff Bezos ผู้ก่อตั้ง Blue Origin ได้พูดถึงเรื่องการใช้ทรัพยากรจากอวกาศ เพื่อสามารถขยายมนุษยชาติไปสู่อวกาศได้

 

ที่มาของภาพและข่าว:https://spacenews.com/blue-origin-to-acquire-honeybee-robotics/

Previous articleท้องฟ้าที่เรามองเห็น จริง ๆ แล้วมีสีอะไรกันแน่ Part 2
Next articleอวกาศยาน Shijian-2 ลากดาวเทียมหมดอายุไปยังวงโคจรสุสาน
Technologist, Content creator

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here