จีนส่งดาวเทียมเรดาร์ไปที่วงโคจรสถิตย์
เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2566 ช่วงเช้าเวลา 01.26 (ตามเวลาปักกิ่ง) ได้มีการยิงนำส่งดาวเทียม L-SAR4 01 ซึ่งเป็นดาวเทียมเรดาร์ไปยังวงโคจร Geosynchronous Orbit ด้วยจรวดนำส่ง Long March-3B จากท่าอวกาศยาน Xichang Satellite Launch Center ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด Sichuan โดยสำนักข่าว Xinhua ให้ข้อมูลเกี่ยวกับดาวเทียมดวงนี้จะให้บริการสำรวจระยะไกล (Remote Sensing) และการยิงนำส่งครั้งนี้เป็นลำดับที่ 483 ของภารกิจการยิงนำส่งของจรวดนำส่งตระกูล Long March
หลังจากเคลื่อนที่ขึ้น (Lift Off) ได้หนึ่งชั่วโมง จรวดนำส่งเดินทางถึงวงโคจร Geosynchronous Transfer Orbit (GTO) สำหรับปรับวงโคจรไปยังวงโคจรสถิตย์และเป็นไปตามแผนการเดินทางครั้งนี้ตามการยืนยันของหน่วยงาน China Aerospace Science and Technology Corp. (CASC)
ข้อมูลจากเว็บไซต์ spacenew.com ได้กล่าวถึงการยิงนำส่งและดาวเทียมดวงนี้มีการเปิดเผยไม่มาก แต่จากข้อมูลตามแผนการนำส่งดาวเทียม 2023 ของสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อเดือนมกราคม 2566 จะมีการยิงนำส่งดาวเทียมลักษณะนี้
ดาวเทียมดวงนี้เป็นดาวเทียมลักษณะ L-Band Synthetic Aperture Radar (SAR) สามารถเก็บข้อมูลบริเวณของจีนและบริเวณใกล้เคียงได้ตลอดกลางวันและและกลางคืนในทุกสภาพอากาศ โดยใช้คลื่นความถี่ต่ำ L-Band ซึ่งวัตถุประสงค์ดาวเทียมดวงนี้คือการดำเนินการกับภัยพิบัติในด้านการตรวจสอบ การป้องกัน และการบรรเทาสาธารณภัย
ประเทศจีนต้องการมีดาวเทียมสำหรับการติดตามสภาพบนพื้นดินและใช้เทคโนโลยีดาวเทียม SAR ที่วงโคจรสูง (High Orbit) โดยเป็นแผนงานระยะกลางและระยะยาวของ Development Plan for Civilian Space Infrastructure (2015-2025) โดยในแผนงานนี้ต้องการให้มีกลุ่มดาวเทียม (Constellation) ที่ติดตั้งอุปกรณ์ Sensor ที่มีความละเอียดในการตรวจจับเป็นแบบความละเอียดปานกลางไปจนถึงขั้นสูง โดยใช้ทั้งระบบ Optical และ Synthetic Aperture Radar สำหรับการครอบคลุมพื้นที่ทางบก ทางน้ำและบรรยากาศ
กล่าวได้ว่าดาวเทียมดวงนี้เป็นดาวเทียม Geosynchronous Orbit Synthetic Aperture Radar ดวงแรกของโลก
แปลและเรียบเรียง : นาวาอากาศเอก ดร.พนม อินทรัศมี
วันจันทร์ ที่ 14 สิงหาคม 2566
ที่มาของข่าว :
– https://spacenews.com/china-launches-first-geosynchronous-orbit-radar-satellite/
– https://english.news.cn/20230813/73448a8a70c54177abe97724a8354889/c.html
ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้