องค์การวิจัยด้านอวกาศอินเดีย หรือ Indian Space Research Organisation (ISRO) ให้ข้อมูลความก้าวหน้าการเดินทางไปดวงจันทร์ของอวกาศยาน Chandranyaan-3 เกี่ยวกับการปฏิบัติขั้นตอนการแยกตัวของอวกาศยานออกจากส่วน Propulsion Module สำเร็จ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2566 และขั้นตอนต่อไปเป็นขั้นตอนสุดท้ายคือการลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์

การดำเนินการขั้นตอนนี้คืออวกาศยานส่วนลงจอด (Lander) มีชื่อ Vikram Lander Module ได้แยกตัวออกจากส่วน Propulsion Module และเคลื่อนที่ด้วยระบบขับเคลื่อนของตัว Module เพื่อที่จะไปดำเนินการลงจอดต่อไป โดยภายในส่วน Module นี้ได้บรรทุก Pragyan Rover สำหรับการปฏิบัติภารกิจบนพื้นผิวดวงจันทร์ตามแผนการที่กำหนดไว้

ภาพจำลอง Vikram Lander แยกตัวจากส่วน Propulsion Module (Credit : https://www.ndtv.com)

กำหนดการตามแผนที่วางไว้ อวกาศยานนี้จะลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์ในวันที่ 23 สิงหาคม 2566 บริเวณขั้วดวงจันทร์ด้านใต้ (Lunar South Pole) ซึ่งเป็นแหล่งที่คาดว่ามีร่องรอยของน้ำแข็งที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้

อวกาศยาน Chandrayaan-3 ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ Vikram Lander Module และ Pragyan Rover Module ได้ออกเดินทางเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2566 ด้วยจรวดนำส่ง GSLV Mark 3 (LVM3) จากท่าอวกาศยาน Sathis Dhawan Space Center ในเมือง Sriharikota, Andhra Pradesh

หากการลงจอดบนดวงจันทร์ครั้งนี้สำเร็จ อินเดียจะเป็นประเทศที่ 4 ในการเดินทางและลงบนดวงจันทร์ ต่อจาก สหรัฐอเมริกา รัสเซีย และจีน

ขณะที่อวกาศยานของอินเดียกำลังเดินทางไปดวงจันทร์นั้น รัสเซียได้ยิงนำส่งอวกาศยาน Luna-25 ด้วยจรวดนำส่ง Soyuz-Fregat เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566 ​สำหรับเดินทางไปดวงจันทร์ และอาจจะลงบนพื้นผิวดวงจันทร์ในช่วงวันที่ใกล้เคียงกับอวกาศยานของอินเดีย ซึ่งคงต้องมีการติดตามต่อไปถึงความสำเร็จของทั้งสองประเทศนี้

เรียบเรียง : นาวาอากาศเอก ดร.พนม อินทรัศมี

วันศุกร์ ที่ 18 สิงหาคม 2566

ที่มาของข่าวและภาพ :

https://www.hindustantimes.com/technology/live-chandrayaan-3-landing-news-updates-isro-news-vikram-lander-separation-today-101692246055668.html

https://www.ndtv.com/india-news/chandrayaan-3-live-updates-thanks-for-the-ride-mate-lander-vikram-detaches-from-spacecraft-4304994

ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้

Previous articleดาวเทียมขนาดเล็ก (Small Satellite) และดาวเทียมลูกบาศก์ (Cubesat)
Next articleอวกาศยาน Luna-25 ตกลงบนพื้นผิวดวงจันทร์

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here