ภาพถ่ายพื้นผิวดวงจันทร์ถ่ายโดยกล้อง LHDAC ติดตั้งบนส่วนลงพื้นของอวกาศยาน Chandrayaan-3 (Credit : https://www.space.com และ ISRO)

อวกาศยาน Chandrayaan-3 ของอินเดียซึ่งกำลังเดินทางไปลงบนพื้นผิวดวงจันทร์และอยู่ในขั้นตอนการลงจอดบนพื้นผิว ได้ทำการทดสอบกล้อง Lander Hazard Detection and Avoidance Camera (LHDAC) ของส่วนลงจอดไวคราม (Vikram Lander)  

กล้องตัวนี้เป็นกล้องที่มีความสำคัญกับภารกิจนี้เป็นอย่างมากเนื่องจากได้รับการออกแบบสำหรับช่วยนำทางให้ส่วนลงจอดสามารถลดความสูงและลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์ได้อย่างปลอดภัย โดยจะไม่ไปลงจอดบริเวณที่เป็นไหล่ของพื้นที่มีลักษณะสูงหรือภูเขาและแม้กระทั่งพื้นที่มีลักษณะเป็นแอ่งลงไป เนื่องจากพื้นผิวดวงจันทร์มีลักษณะไม่ราบเรียบมีทั้งพื้นที่สูงและแอ่งอยู่ตลอดอาจทำให้อาจเกิดอันตรายเมื่อลงจอดได้

องค์การวิจัยด้านอวกาศของอินเดีย หรือ Indian Space Research Organization (ISRO) โพสภาพลงโซเชียลมีเดีย X หรือ Twitter เดิมเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2566 โดยเป็นภาพพื้นผิวดวงจันทร์ถ่ายเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2566 ทำให้เห็นปล่องภูเขา (Crater) ในหลายมุมและมีเงาปรากฏอยู่ รวมถึงทะเลของดวงจันทร์ ซึ่งเรียกว่า Lunar Mare or Sea ที่มีลาวาลักษณะเย็นตัว (Cooled Lava)

ส่วนลงจอดไวครามของอวกาศยาน Chandrayaan-3 คาดว่าจะลงจอดได้ในวันที่ 23 สิงหาคม 2566 เวลา 18.04 ตามเวลาประเทศอินเดียหรือเวลา 12.34 GMT ตรงกับประเทศไทย 19.34 ในวันเดียวกัน โดยตำแหน่งที่ลงจอดบนดวงจันทร์คือตำแหน่งละติจูด (Latitude) 69.37 องศาใต้ และลองจิจูด (Longitude) 32.35 องศาตะวันออก ใกล้บริเวณขั้นดวงจันทร์ด้านใต้

อินเดียให้ความสำคัญต่อการเดินทางไปดวงจันทร์ครั้งนี้เป็นอย่างมากเนื่องจากหากสามารถลงจอดได้สำเร็จ จะเป็นชาติแรกที่สามารถนำอวกาศยานประเภท Probe (อวกาศยานไร้มนุษย์ที่เดินทางไปในอวกาศ) ลงจอดในลักษณะ Soft Landing  บริเวณขั้วดวงจันทร์ด้านใต้เป็นชาติแรก

หลายความคิดเห็นว่าการพยายามไปดวงจันทร์และลงจอดบริเวณนี้เป็นการแข่งขันกับอวกาศยาน Luna-25 ของรัสเซียซึ่งเดินทางตามหลังและพยายามจะลงจอดก่อนอวกาศยาน Chandrayaan-3 แต่ประสบอุบัติเหตุในขั้นตอนลงจอดสุดท้ายเมื่อทำการจุดเครื่องยนต์เพื่อเข้าสู่วงโคจรลงจอด (Landing Orbit)  เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2566 ส่งผลให้ตกลงบนพื้นผิวดวงจันทร์

ความพยายามลงจอดบนดวงจันทร์ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก โดยเมื่อปี 2562 อินเดียได้ส่งอวกาศยานชื่อ Chandrayaan-2 ไปลงดวงจันทร์และเมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการลงจอดสุดท้าย มีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับส่วนลงจอดทำให้สูญเสียความสูงและตกลงกระแทก (Hard Impact) กับพื้นผิวดวงจันทร์ ซึ่งในด้านอวกาศนับเป็นการลงจอดแบบ Hard Landing

การเดินทางไปดวงจันทร์ของอวกาศยาน Chandrayaan-3 เริ่มต้นเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2566 และจุดเครื่องยนต์สำหรับเปลี่ยนวงโคจรเป็น Highly Elliptical Earth Orbit และเข้าสู่เส้นทางเดินทางไปในดวงจันทร์ Lunar Transfer Orbit โดยเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2566 อวกาศยานได้เปลี่ยนเข้าไปโคจรในวงโคจรรอบดวงจันทร์ (Lunar Obit) จนกระทั่งวันที่ 17 สิงหาคม 2566 ส่วนลงจอดได้แยกตัวออกจากส่วนขับเคลื่อน (Propulsion Module) เพื่อเดินทางเข้าสู่ขั้นตอนการลงจอด

ส่วนลงจอดไวคราม (Vikram Lander) ได้บรรทุกยานเคลื่อนที่ในลักษณะโรเวอร์ขนาดเล็ก (Small Rover) มีชื่อว่า Pragyan และหากลงจอดสำเร็จทั้งสองส่วนจะทำงานร่วมกันในการปฏิบัติการทดลองที่เกี่ยวข้อง

หากการลงจอดของอวกาศยาน Chandrayaan-2 ประสบความสำเร็จ ประเทศอินเดียจะเป็นชาติที่ 4 ต่อจากสหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียตหรือรัสเซียในปัจจุบัน และจีน ในการส่งอวกาศยานลงบนดวงจันทร์ ขณะเดียวกันประเทศญี่ปุ่นเตรียมส่งอวกาศยาน Smart Lander for Investigating Moon (SLIM) โดยองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (Japan Aerospace Exploration Agency)  ด้วยจรวดนำส่ง H-2A จากท่าอวกาศยาน Tanegashima Space Center ในวันที่ 26 สิงหาคม 2566 นับได้ว่าเป็นความพยายามของประเทศด้านอวกาศที่ต้องการลงอวกาศยานไปลงบนดวงจันทร์ให้ได้

เรียบเรียง : นาวาอากาศเอก ดร.พนม อินทรัศมี

วันอังคาร ที่ 22 สิงหาคม 2566

ที่มาของข่าวและภาพ :

https://www.space.com/india-chandrayaan-3-probe-moon-far-side-photos

ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้

Previous articleอวกาศยาน Luna-25 ตกลงบนพื้นผิวดวงจันทร์
Next articleร่วมชม Chandrayaan-3 ลงจอดบนดวงจันทร์วันนี้

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here