จีนได้ดำเนินการยิงนำส่งกลุ่มดาวเทียมชุดแรกที่จะโคจรในวงโคจรรอบโลกระดับกลาง (Medium Earth Orbit) สำหรับการเป็นกลุ่มดาวเทียมบอร์ดแบนด์ โดยการยิงนำส่งด้วยจรวดนำส่งลองมาร์ช 3B (Long March 3B) เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2557 เวลา 1730 ตามเวลาท้องถิ่นประเทศจีน ( ตามเวลา UTC 0930) จากท่าอวกาศยานศูนย์การยิงนำส่งดาวเทียมสีชาง (Xichang Satellite Launch Center) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจีน

การยิงนำส่งครั้งนี้ประสบความสำเร็จตามที่องค์กร China Aerospace Science and Technology Corporation (CASC) ยืนยันความสำเร็จและได้ให้ข้อมูลสำหรับสิ่งที่บรรทุกไปกับจรวดนำส่งคือ ดาวเทียม Smart Skynet-1 (01) รุ่น A และ B เป็นครั้งแรก

ดาวเทียมเหล่านี้ได้รับการพัฒนาโดยองค์กร Shanghai Academy of Spaceflight Technology (SAST) ของ CASC ซึ่งดำเนินการให้กับ บริษัท Shanghai Tsingshen Technology Development Co. Ltd โดยบริษัท Tsingshen Tech ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.​2018 มีการร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Tsinghua และรัฐบาลเซี่ยงไฮ้ในการสร้างกลุ่มดาวเทียมวงโคจรรอบโลกระดับกลางเพื่อเป็นดาวเทียมบรอดแบนด์

คุณสมบัติของดาวเทียมทั้งสองรุ่นคือ ดาวเทียม Smart Skynet-1 (01) Satellite A ได้รับการติดตั้งลิงค์ไมโครเวฟความเร็วสูงแบบ Multi Band และมีลิงค์เลเซอร์สองทางสำหรับการติดต่อระหว่างดาวเทียม รวมทั้งแพลตฟอร์มการประมวลผลดิจิทัล Onboard สำหรับอีกรุ่นคือดาวเทียม ดาวเทียม Smart Skynet-1 (01) Satellite B มีการติดตั้งอุปกรณ์ทดลองระบบการเชื่อมต่อแบบเลเซอร์ระหว่างดาวเทียม อีกทั้งมีการทำงานในวงโคจรสำหรับตรวจสอบเทคโนโลยีของการเชื่อมต่อระหว่างดาวเทียมลักษณะยืดหยุ่นและการส่งข้อมูลจากดาวเทียมไปยังภาคพื้น

บริษัท Tsingshen Tech มีแผนการเบื้องต้นในการส่งดาวเทียม 8 ดวงไปในวงโคจรรอบโลกระดับกลาง (MEO) ที่ความสูงเหนือพื้นโลกประมาณ 20,000 กิโลเมตรเพื่อสร้างกลุ่มกลุ่มดาวเทียมสื่อสาร ซึ่งเป็นการส่งดาวเทียมใกล้เคียงกับกลุ่มดาวเทียม O3B Constellation Satellite

กลุ่มดาวเทียมนี้สามารถขยายจำนวนดาวเทียมได้ถึง 16 ดวง ซึ่งประกอบด้วยสองกลุ่มและสี่กลุ่ม ซึ่งเพิ่มจำนวนได้ถึง 32 ดวง โดยหากดำเนินการสำเร็จแล้วสามารถให้การบริการการติดต่อสื่อสารของบุคคลทั่วโลกที่ปราศจากจุดอับสัญญาณ

ยิ่งไปกว่านั้นดาวเทียม Smart SkyNet อาจเชื่อมโยงกับกลุ่มดาวเทียมสื่อสารในวงโคจรรอบโลกระดับต่ำของจีน รวมถึงดาวเทียมสื่อสารในวงโคจรสถิตย์ (Geostationary Orbit) ซึ่งทำให้เข้าถึงผู้ใช้ทุกประเภทในทุกสถานการณ์และทุกด้าน

กลุ่มดาวเทียม Smart SkyNet ได้รับการส่งเสริมภายใต้แผนดำเนินการเซียงไฮ้ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอวกาศพาณิชย์และสร้างอุตสาหกรรมข้อมูลอวกาศไฮแลนด์ 2023-2025 (Shanghai Action Plan to Promote Commercial Aerospace Development and Create a Space Information Industry Highland 2023-2025) ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวการดำเนินการด้านอวกาศในระดับเมืองของจีนเพื่อส่งเสริมกิจกรรมอวกาศพาณิชย์และส่งเสริมการเติบโตและนวัตกรรม โดยมีแผนการดำเนินการที่ครอบคลุมด้านดาวเทียม ยานนำส่งหรือจรวดนำส่ง (Launch Vehicle)  และการประยุกต์ใช้งานรวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง

เมืองเซียงไฮ้ยังให้การสนับสนุนโครงการกลุ่มดาวเทียมบรอดแบนด์ขนาดใหญ่ที่รู้จักกันในนาม G60 Starlink ที่มีจุดศูนย์กลางในเขตซงเจียงของเซียงไฮ้ โดยโครงการนี้มีแผนวางแผนส่งดาวเทียมจำนวน 108 ดวงภายในปีนี้และจะมีจำนวนดาวเทียมมากว่า 12,000 ดวง เมื่อโครงการนี้สำเร็จ

ปัจจุบันกล่าวได้ว่าจีนมีแผนการสร้างกลุ่มดาวเทียมที่มีความหลากหลายในวงโคจรรอบโลกซึ่งได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างมาก

Constellation/OperatorOrbitNumber of Satellites
GuowangLEO13,000
G60 StarlinkLEO12,000+
Tsingshen TechMEO8 (expansions to 16 and 32)
China SatcomGEOVarious (ChinaSat and APStar satellites)
กลุ่มดาวเทียมของจีน

ประเทศจีนมีแผนสำหรับการสร้างระบบการทำงานร่วมกันของกลุ่มดาวเทียมสำหรับการสื่อสาร (Communication) การนำทาง (Navigation) และการรับรู้ระยะไกล (Remote Sensing)

เรียบเรียง : นาวาอากาศเอก ดร.พนม อินทรัศมี

วันเสาร์ ที่ 14 พฤษภาคม 2567

ที่มาของข่าวและภาพ :

https://spacenews.com/china-launches-its-first-medium-earth-orbit-broadband-satellites/

https://www.scmp.com/news/china/science/article/3262134/china-raises-stakes-spacex-internet-rivalry-claims-higher-orbit-first-skynet-satellite

ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้

Previous articleจีนยิงนำส่งดาวเทียม 2 ครั้งติดต่อกัน
Next articleจีนส่งอวกาศยาน Chang’e-6 เก็บวัตถุตัวอย่างบนดวงจันทร์

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here