Falcon 9 Lift Off Image credit: SpaceX webcast and parabolicarc.com/

เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.2566 จรวดนำส่งฟอลคอน 9 (Falcon 9) ของบริษัทสเปซเอ็กซ์ (SpaceX) ได้นำส่งดาวเทียมขึ้นสู่ห้วงอวกาศ จากท่าอวกาศยานหรือฐานปล่อยจรวดนำส่ง Vandenberg Space Force Base มลรัฐแคลิฟอร์เนีย เมื่อเวลา 1535 ตามเวลาท้องถิ่น ในภารกิจ Transporter-8 ซึ่งมีลักษณะการส่งดาวเทียมจากหน่วยงานและหลายบริษัทพร้อมกัน เรียกว่า Dedicated Rideshare Mission โดยการยิงนำส่งครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากพึ่งมีการยิงนำส่งด้วยจรวดนำส่งแบบเดียวกันก่อนหน้านี้ 14 ชั่วโมงที่ท่าอวกาศยาน Cape Canaveral มลรัฐฟลอริดา สำหรับการส่งดาวเทียม Starlinks ของบริษัทสเปซเอ็กซ์

สำหรับดาวเทียมที่ขึ้นสู่อวกาศครั้งนี้มีตั้งแต่ของกองทัพอวกาศสหรัฐอเมริกาไปจนถึงบริษัทสตาร์ทอัพ รวมทั้งหมด 72 สัมภาระบรรทุก (Payload) ซึ่งมีทั้งดาวเทียมขนาดเล็กและอวกาศยานสำหรับปล่อยดาวเทียมที่บรรจุดาวเทียมภายในและปล่อยสู่ห้วงอวกาศในเวลาต่อไป เรียกว่า Orbital Transfer Vehicles โดยดำเนินการปล่อยที่ความสูง 525 กิโลเมตร เหนือพื้นโลก ในลักษณะวงโคจร Sun Synchronous Orbit และเริ่มทำการปล่อยหลังจากจรวดนำส่งยกตัว (Lift Off) ประมาณหนึ่งชั่วโมงครึ่ง

บริษัทด้านอวกาศที่ส่งดาวเทียมครั้งนี้ได้แก่ บริษัท Spire ส่งดาวเทียมจำนวน 3 ดวงสำหรับการติดตามข้อมูลสภาพอากาศ บริษัท Iceye ส่งดาวเทียมจำนวน 4 ดวงสำหรับการถ่ายภาพ บริษัท Satellogic ส่งดาวเทียมถ่ายภาพ 4 ดวง ซึ่งบริษัทที่กล่าวมานั้นได้ส่งดาวเทียมเพื่อเพิ่มในกลุ่มดาวเทียม (Constellation) ของบริษัทตนเองที่เคยส่งมาก่อนแล้ว อีกทั้งยังมีดาวเทียมที่อยู่ในอวกาศยาน Orbiter SN3 ของบริษัท D-Orbit ซึ่งจะโคจรอยู่ในวงโคจรก่อนที่จะปล่อยดาวเทียมออกไป

การส่งดาวเทียมครั้งนี้มีดาวเทียมด้านการทหาร เช่นดาวเทียมจำนวน 4 ดวงในโครงการ Blackjack ของหน่วยงาน DARPA เพื่อทำการทดสอบดาวเทียมกลุ่ม (Constellation) รวมทั้งดาวเทียมจำนวน 3 ดวงของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาซึ่งอยู่ในส่วน Space System Command สำหรับการทดสอบในของส่วน Defense Department โดยดาวเทียมจำนวน 2 ดวงใน 4 ดวงนั้น มีชื่อเรียกว่า Modular Intelligence Surveillance and Reconnaissance ซึ่งเป็นดาวเทียม Cubesat และดาวเทียมอีกดวงหนึ่งนั้นเป็นดาวเทียมสำหรับทดสอบการสื่อสารทหารลักษณะ Link-16 ในอวกาศ

บริษัทสเปซเอ็กซ์ได้นำเสนอการนำส่งดาวเทียมในภารกิจ Transporter และได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยสามารถส่งได้ปีละ 3-4 เที่ยวบิน และมีราคาค่าส่งถูกว่าการนำส่งด้วยบริษัทอื่น อีกทั้งมีเว็ปไซต์สามารถให้ข้อมูลเที่ยวการส่ง จำนวน Slot ที่ว่าง และราคา รวมทั้งข้อมูลอื่นๆ ซึ่งในตอนนี้มีการจองการนำส่งไปจนถึงไตรมาสที่สองของปี พ.ศ.2568

บริษัทสเปซเอ็กซ์ได้เก็บข้อมูลสำหรับจัดทำเป็นสถิติของการนำส่ง โดยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 9 ที่ส่วน Booster หรือส่วนที่หนึ่ง (Stage) ของจรวดนำส่งฟอลคอน 9 ลงมายังพื้นดินหรือ Landing ได้ ณ ท่าอวกาศยาน Vandenberg และเป็นการลงพื้นครั้งที่ 200 ของการลงพื้นตั้งแต่บริษัทได้เปลี่ยนแนวคิดที่จะมีการนำส่ง Booster กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง อันเป็นการประหยัดค่าขนส่งสำหรับการส่งวัตถุขึ้นสู่อวกาศ

สำหรับประเทศไทยเคยส่งดาวเทียมขึ้นไปพร้อมกับดาวเทียมอื่นในภารกิจนี้เช่นกัน โดยเป็นดาวเทียม NAPA-2 N ของกองทัพอากาศ ส่งขึ้นไปกับจรวดนำส่งฟอลคอน 9 ภารกิจ Transporter 2 (Dedicated SSO Rideshare) จากท่าอวกาศยาน Cape Canaveral เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.64 เวลา 1531 ตามเวลาท้องถิ่น และโดยดาวเทียมดวงนี้อยู่ในอวกาศยาน In Orbit-Now Satellite Carrier Vehicle (SCV) Dauntless David ก่อน แล้วจึงดีดตัวออกสู่ห้วงอวกาศ

แปลและเรียบเรียง : พนม อินทรัศมี

วันเสาร์ ที่ 31 พฤษภาคม 2566

ที่มาของข่าวและภาพ :

https://spacenews.com/spacex-launches-eighth-dedicated-smallsat-rideshare-mission

https://parabolicarc.com/2023/06/13/spacex-puts-125-satellites-orbit-launch-doubleheader

Previous articleOrbital Flight และ Suborbital Flight
Next articleบริษัทสเปซเอ็กซ์ยิงนำส่งดาวเทียมสื่อสารอินโดนิเซีย

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here