ดนตรีเป็นสิ่งจรรโลงใจสำหรับทุกคนจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ จะเพศไหนก็ตาม ผู้แต่งเพลงและนักดนตรีมักจะหาแรงบันดาลใจและไอเดียในการเติมแต่งรสชาติทางดนตรีเหมือนแต่งนวนิยายหรือหนังอะไรสักเรื่องซึ่งจะออกไปแนวทางเดียวกัน ซึ่งอวกาศคือหนึ่งในพล็อตของดนตรีที่ผู้แต่งจะสร้างบรรยากาศอารมณ์ความกว้างใหญ่และเคว้งคว้างให้กับผู้ฟัง นั่นคือที่นักดนตรีสนใจอยากจะทำไม่ก็เป็นแฟนๆในด้านดาราศาสตร์หรือการเดินทางไปอวกาศ

ผู้พันทอมในเพลง Space Oddity ที่ไม่มีอยู่จริง

Space Oddity เป็นเพลงที่เสียดสีกิจการอวกาศของอังกฤษ โดยให้ผู้พันทอม (Major Tom) นักบินอวกาศสมมติเป็นสัญลักษณ์ความล้มเหลวด้านกิจการอวกาศของอังกฤษในช่วงสงครามเย็นซึ่งเป็นช่วงการแข่งขันด้านอวกาศหรือ Space Race ระหว่างสหรัฐอเมริกากับรัสเซียที่รีบเร่งในการพัฒนาการขนส่งทางอวกาศเพื่อเอาชนะและชิงการเป็นมหาอำนาจ แต่ทางอังกฤษไม่ได้พัฒนาอะไรเลย ก็เลยแต่งเพลงประชดประชันตัดพ้อต่ออังกฤษต่อการนิ่งเฉยต่อกิจการอวกาศ ดังนั้นผมขอให้ทุกคนลองฟังดื่มด่ำกับเพลงนี้กันนะครับ

Space Oddity by David Bowie

เรื่องราวที่ผู้พันทอมคุยกับสถานีภาคพื้น (Ground Station) ตั้งแต่นับถอยหลังเวลาการปล่อยจรวดขึ้นไปดวงจันทร์ ระหว่างที่บินขึ้นไปด้วยความกดดันที่ต้องแบกภาระอันยิ่งใหญ่ของประเทศและมนุษยชาติ ทั้งความยินดีจากคนทุกคนที่ให้กำลังใจเขา เขาได้รายงานถึงข้างนอกยานว่าท้องฟ้าที่เขาเห็นเปลี่ยนไปไม่เหมือนเดิมและลอยเคว้งคว้างไม่สามารถทำอะไรได้ เขาได้บอกลาภรรยาที่รักและโลกที่เขาอยู่ ต่อมาตัดสินใจก้าวออกจากยานอวกาศอันไกลโพ้น และไม่ได้กลับมายังโลกอีกเลย

“Here am I floating ’round my tin can

Far above the moon

Planet Earth is blue

And there’s nothing I can do”

          ความเสียดสีประชดแบบเงียบๆของเพลงนี้ รวมกับวันที่ปล่อยเพลงออกมาตรงกับวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ.1969 ซึ่งเป็นเวลา 5 วันก่อนภารกิจ Apollo 11 ได้ทำการปล่อยจรวดเพื่อส่งนักบินอวกาศ นีล อาร์มสตรอง (Neil A. Armstrong) เอ็ดวิน บัซ อัลดริน (Buzz AldrinX และไมเคิล คอลลินส์ (Michael Collins) ไปสำรวจดวงจันทร์ ทำให้สำนักข่าวบีบีซี (BBC) ของอังกฤษได้สั่งแบนเพลงนี้ในวิทยุกระจายเสียง (คิดง่ายๆ ก็เหมือนแช่งให้เขาพลาดนั่นแหละ) โดยมีข้อแม้ว่าจะปล่อยเพลงนี้ได้ก็ต่อเมื่อภารกิจ Apollo 11 จะเสร็จสิ้นปลอยภัยแล้วเท่านั้น

หลังจากภารกิจ Apollo 11 สำเร็จ กระแสความนิยมเกี่ยวกับอวกาศมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เพลงนี้โด่งดังพร้อมกับศิลปิน David Bowie เป็นตำนานจนถึงปัจจุบันมีการทำ Remastered หลายครั้งแล้ว ยิ่งน้ำอีกว่าเพลงยังอยู่ในใจของแฟนๆด้านอวกาศครับ

Space Oddity – Chris Hadfield version
Chris Hadfield นักบินอวกาศแคนนาดาที่ได้รับฉายา ผู้พันทอม (อย่าลืมว่าผู้พันทอมไม่มีอยู่จริง)

และอีกเวอร์ชั่นหนึ่งที่น่าสนใจของ Chris Hadfield เขาได้ cover ปรับแต่งเนื้อเพลงให้ดูทันสมัยและลดความประชดประชนลงไป เขาอัดเสียงร้องด้วยวิทยุและวิดิโอตอนอยู่ในสถานีอวกาศนานาชาติ หรือ International Space Station (ISS) นับได้ว่าเป็น Music Video แรกของมนุษยชาติกันเลยที่เดียว (ซึ่งแอดชอบเวอร์ชั่นนี้มากที่สุดครับ)

Previous articleBreaking news: จรวด Vega ในภารกิจ VV16 ของ Arianespace เลื่อนการปล่อยเป็นวันอาทิตย์นี้ (21 มิ.ย.)
Next articleการปฎิบัติงานด้านอวกาศ
Technologist, Content creator

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here