Jielong-3 ยกตัวจากฐานยิงนำส่งเคลื่อนที่ทางทะเล เมื่อ 3 ก.พ.67 เวลา 03.05 (UTC) (Credit : www.space.com)

ประเทศจีนได้ทำการยิงนำส่งดาวเทียม 2 ครั้งติดต่อกันด้วยบริษัทสัญชาติจีนจากฐานปล่อยบนบกและในน้ำ โดยการปล่อยครั้งแรกเป็นจรวดนำส่ง Long March 2C ได้ยกตัว (Liftoff) จากท่าอวกาศยาน Xichang Satellite Launch Center ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 เวลา 23.37 (UTC) โดยนำส่งดาวเทียมจำนวน 11 ดวง และหลังจากนั้นประมาณ 4 ชั่วโมงมีการยิงนำส่งด้วยจรวดนำส่ง Jielong-3 ซึ่งเป็นจรวดเชื้อเพลิงแข็ง จากฐานยิงนำส่งเคลื่อนที่ทางทะเล ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 เวลา 03.05 (UTC) เพื่อนำส่งดาวเทียม 3 ดวงขึ้นสู่ห้วงอวกาศเช่นเดียวกัน    

การยิงนำส่งด้วยจรวดนำส่ง Long March 2C เป็นการนำส่งดาวเทียมของบริษัท Geely ซึ่งเป็นบริษัทยานยนต์ของจีน ขึ้นสู่ห้วงอวกาศที่วงโคจรความสูงใกล้พื้นโลกที่สุดประมาณ 595 และไกลสูงสุด 605 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก มีมุมระนาบเอียง (Inclination Angel) 50 องศา จากข้อมูลการติดตามของกองทัพอวกาศสหรัฐอเมริกา

March 2C ยกตัวจากท่าอวกาศยาน Xichang Satellite Launch Center เมื่อ 2 ก.พ.67 เวลา 23.37 (UTC) (Credit : https://www.spaceintel101.com)

ดาวเทียมทั้ง 11 ดวงของบริษัท Geely เป็นดาวเทียมกลุ่ม (Constellation) ในโครงการ Geely Future Mobility Constellation สำหรับการติดตามในการขับเคลื่อนอัตโนมัติของพาหนะบนพื้นโลก การติดต่อสื่อสารและการให้บริการอื่นๆ โดยเฟสแรกของการดำเนินการ จะทำการส่งดาวเทียมจำนวน 72 ดวงขึ้นสู่อวกาศภายในปี พ.ศ.2568 ซึ่งจะเน้นการให้บริการข้อมูลเวลาจริง (Real Time Data) จากนั้นจะมีการส่งดาวเทียมในเฟสต่อไปจำนวน 168 ดวง สำหรับการให้บริการบอกพิกัดหรือตำแหน่งที่มีความแม่นยำสูง

หากดาวเทียมกลุ่มจำนวน 240 ดวงได้นำส่งและปฏิบัติการได้ครบ จะสามารถให้บริการด้านการสื่อการ (Communication) การนำทาง (Navigation) และการรับรู้ระยะไกล (Remote Sensing) อีกทั้งความสามารถของดาวเทียมจะใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) มาสนับสนุนการปฏิบัติงานการับรู้ระยะไกลให้ได้มาซึ่งภาพถ่ายที่มีความละเอียดถึง 1-5 เมตร  ตามข้อมูลจากส่วน Geespace ภายใต้บริษัท Geely

ก่อนหน้านี้บริษัทได้ทำการยิงนำส่งดาวเทียมไปแล้ว 9 ดวง เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.2565 โดยจรวดนำส่ง Long March 2C จากท่าอวกาศยาน Xichang Satellite Launch Center เช่นเดียวกัน

บริษัท Geespace เป็นบริษัทย่อยของบริษัท Geely ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2564 มีสำนักงานใหญ่ที่เมืองนานชา กรุงกว่างโจว มณฑลกวางตุ้ง ซึ่งตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อุตสาหรรมเดียวกับหน่วยงาน CAS Space ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงาน Chinese Academy of Sciences

ขณะเดียวกันจรวดนำส่ง Jielong-3 หรือ Smart Dragon-3 ได้ยิงนำส่งดาวเทียม 9 ดวงจากบริษัทหลายแห่งของจีนไปยังวงโคจร Sun-Synchronous Orbit ซึ่งเป็นการยิงครั้งสองในรอบสองเดือน โดยได้ยกตัวจากฐานยิงนำส่งทางทะเลห่างจากชายฝั่งเมืองหยางเจียงมณฑลกวางตุ้ง

ดาวเทียมดวงแรกคือ Dongfang Huiang-01ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม Yantai-2 เป็นดาวเทียมรับรู้ระยะไกล (Remote Sensing Satellite) สามารถถ่ายภาพที่มีความละเอียดได้ถึง 0.5 เมตร และทำงานแบบอัตโนมัติ

อีกทั้งยังมีดาวเทียมอื่นได้แก่ดาวเทียมขนาดเล็กคือ DRO-L พัฒนาโดยหน่วยงาน Innovation Academy of Microsatellite of Chinese Academy of Science (IAMCAS) โดยดาวเทียม DRO-L เป็นดาวเทียมในวงโคจรรอบโลกระดับต่ำเชื่อมต่อการนำทางสำหรับเป็นพื้นฐานการวิจัยดาวเทียมการนำทางขนาดเล็กเหนือดวงจันทร์มีชื่อว่า Tiandu-1 และ Tiandu- 2 โดยจะทำการยิงนำส่งพร้อมกับดาวเทียม Queqiao-2 Lunar Relay Satellite ในเดือนมีนาคม

ดาวเทียมอีกสองดวงคือ ดาวเทียม Weihai-1 01และดาวเทียม Weihai-1 -02 ได้รับการพัฒนาโดยบริษัทของรัฐบาลจีนคือบริษัท CASIC โดยดาวเทียมสองดวงนี้นำนำอุปกรณ์สื่อสารด้วยเลเซอร์ เพื่อทำการทดลองใช้การสื่อสารแบบเลเซอร์ระหว่างดาวเทียมด้วยกันเองในอวกาศและระหว่างดาวเทียมกับสถานีบนพื้นโลก  

ดาวเทียมอีกสามดวงเป็นดาวเทียม Xingshidai-18, -19 และ -20 ของบริษัท ADA Space ซึ่งบริษัทนี้ทำการพัฒนาดาวเทียมรับรู้ระยะไกล (Remote Sensing Satellite) ด้วยการใช้ปัญญาประดิษฐ์ อีกทั้งดาวเทียม Xingshidai-18 ได้นำอุปกรณ์สื่อสารเพิ่มเข้าไปด้วย

ดาวเทียม Zhixing-2A หรือเรียกชื่อเป็น Smart Satellite เป็นดาวเทียมบริษัท Zhixing Space Technology ซึ่งบริษัทต้องการสร้างดาวเทียมกลุ่มในลักษณะ Synthetic Aperture Radar Constellation   

นอกจากดาวเทียมของจีนในการนำส่งครั้งนี้ ยังมีดาวเทียมของประเทศอียิปต์ คือ ดาวเทียม Nexsat-1 ซึ่งจากข้อมูลองค์การ Egyptian Space Agency ดาวเทียมมีน้ำหนัก 67 กิโลกรัม โดยการดำเนินการครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเทคโนโลยีดาวเทียมขนาดเล็กในประเทศอียิปต์ซึ่งมีบริษัท Berlin Space Technologies ของประเทศเยอรมันเข้าร่วมพัฒนาด้วย

ดาวเทียม Nexsat-1 เป็นผลงานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือระหว่างประเทศจีนและอียิปต์ ทั้งด้านการพัฒนาดาวเทียม การทดสอบดาวเทียม และการยิงนำส่งดาวเทียมด้วยจรวดนำส่งของจีน อีกทั้งประเด็นที่สำคัญประเทศอียิปต์ได้เข้าร่วมโครงการ International Lunar Research Station (ILRS) Project ในการวิจัยการเดินทางไปดวงจันทร์ของจีน

จากการยิงนำส่งจรวดนำส่ง Jielong-3 ซึ่งสร้างโดยบริษัท China Rocket เป็นการก้าวกระโดดการยิงนำส่งบนพื้นน้ำด้วยฐานยิงลอยน้ำเคลื่อนที่ได้ อันเป็นไปตามแนวทางการดำเนินการของหน่วยงาน CALT ซึ่งเป็นหน่วยงานที่พัฒนาจรวดนำส่งของจีน โดยดำเนินการภายใต้หน่วยงานของรัฐบาลจีน คือ China Aerospace Science and Technology Corporation (CASC) อีกทั้งหน่วยงาน CASC เป็นหน่วยงานหลักภายใต้สัญญาสำหรับการสร้างจรวดนำส่ง Long March ส่งผลให้หน่วยงาน CALT สามารถสร้างจรวดนำส่ง Jielong-3 และทำการยิงนำส่งได้แล้วถึง 3 ครั้ง

การยิงนำส่งด้วยจรวดนำส่ง Jielong-3 ได้รับการสนับสนุนจาก Haiyang Sea Launch Facilities ซึ่งตั้งอยู่ที่ชายฝั่งจังหวัด Shandong สำหรับการยิงนำส่งจากแพลตฟอร์มที่อยู่บนทะเลจำนวน 3 ครั้ง รวมถึงการยิงนำส่งจรวดนำส่ง Gravity-1 ประเภทเชื้อเพลิงแข็งของบริษัท OrienSpace Technology อันนับว่าเป็นก้าวสำคัญสำหรับการยิงนำส่งในทะเลบนแพลตฟอร์มเคลื่อนที่ได้

บริษัท China Rocket ยังได้กล่าวถึงการทำงานในการสร้างและทดสอบจรวดนำส่ง Long March 8 เวอร์ชั่นใหม่ ซึ่งทำการทดสอบที่ฐานปล่อยใหม่ในท่าอวกาศยาน Wenchang อีกทั้งยังได้เตรียมการสำหรับการอบรมให้พร้อมในการปล่อยจรวดนำส่งจากฐานปล่อยใหม่ในปีนี้

เรียบเรียง : นาวาอากาศเอก ดร.พนม อินทรัศมี

วันเสาร์ ที่ 20 มกราคม 2567

ที่มาของข่าวและภาพ :

– https://spacenews.com/china-launches-20-satellites-on-separate-inland-and-sea-rocket-launches/

– https://zgh.com/geespace/?lang=en

– https://en.wikipedia.org/wiki/Orienspace

  • – https://www.spaceintel101.com

ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้

Previous articleAxiom ประสบความสำเร็จไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here